ข้ามไปเนื้อหา

บุญพันธ์ แขวัฒนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญพันธ์ แขวัฒนะ
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
รัฐมนตรีช่วยสันตศักด์ จรูญ งามพิเชษฐ์
ก่อนหน้าไพโรจน์ นิงสานนท์
ถัดไปไพโรจน์ นิงสานนท์
เลขาธิการพรรคกิจสังคม
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2536
ก่อนหน้าเขษม ไกรสรรณ์
ถัดไปเฉลิม อยู่บำรุง
หัวหน้าพรรคกิจสังคม
ดำรงตำแหน่ง
29 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2542
ก่อนหน้ามนตรี พงษ์พานิช
ถัดไปสุวิทย์ คุณกิตติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มกราคม พ.ศ. 2473 (94 ปี)
อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ประเทศสยาม
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2555–2561)
คู่สมรสสุดาพร ศิริเบญจพร (หย่า)
สำรวย แขวัฒนะ

บุญพันธ์ แขวัฒนะ (เกิด 6 มกราคม พ.ศ. 2473) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลสุจินดา คราประยูร และรัฐบาลชวน หลีกภัย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 9 สมัย และอดีตหัวหน้าพรรคกิจสังคม

ประวัติ

[แก้]

บุญพันธ์ แขวัฒนะ เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2473 ที่ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรของนายสิน กับนางแดง แขวัฒนะ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมต้นจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย[1] และเตรียมอุดมศึกษา จากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย[2] ด้านครอบครัวเคยสมรสกับ นางสุดาพร ศิริเบญจพร มีบุตรธิดา 4 คน อาทิ น.ส. เกศสิณี แขวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2551), นายคณิพงษ์ แขวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2557) ต่อมาสมรสกับนางสำรวย แขวัฒนะ อดีต ส.ว.พระนครศรีอยุธยา

การทำงาน

[แก้]

บุญพันธ์ แขวัฒนะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2531 ต่อจากนั้นจึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา[3] และรัฐบาลชวน หลีกภัย (1)[4] และรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา

หลังจากนั้นก็ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรื่อยมา จนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[ลิงก์เสีย]
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  5. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๑
ก่อนหน้า บุญพันธ์ แขวัฒนะ ถัดไป
ไพโรจน์ นิงสานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (ครั้งแรก)
23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 15 กันยายน พ.ศ. 2536 (ครั้งที่ 2))
ไพโรจน์ นิงสานนท์ (ครั้งแรก)
อาทิตย์ อุไรรัตน์ (ครั้งที่ 2)